UK_banner

วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สั่งหนี้ให้ไปล่าเงิน



 

     คงเป็นเรื่องแปลกสำหรับนักอ่านมิใช่น้อยใช่มั้ยครับ ว่าตาฝาดไปหรือป่าว ปกติจะพบเห็นแต่ตามหน้าปกหนังสือต่างๆ ที่มีวลีเด็ด “ให้เงินทำงาน”  แต่สำหรับผมแล้ว แทบจะเรียกได้ว่าใช้ตำราคนละขั้วกันเลยทีเดียว นอกจากไม่ใช้ “เงิน” แล้ว ยังสั่ง “หนี้” ให้หาเงินมาให้อีกต่างหาก  เพียงเท่านี้ ก็สร้างความฉงน ปนคำถามให้บังเกิดขึ้นในสมองท่านทันที ใช่หรือป่าวครับ

 

       ก่อนที่ท่านจะด่วนสรุปว่า ให้หนี้หาเงินได้จริงหรือ ลองมาชมตัวอย่างกันพอหอมปากหอมคอกันก่อนสักสองเรื่อง

 

    เรื่องแรก ในวันที่ตลาดหุ้นติดลบสมชายมักจะใช้บัตรเครดิตไปซื้อกองทุนเก็บไว้ และรอจนตลาดหุ้นบวกขึ้นจากเดิม ก็ขายกองทุนก่อนครบวันชำระหนี้บัตรเครดิต ได้กำไรส่วนต่างไปซื้อทองคำเก็บไว้สลึงนึง

   เรื่องที่สอง สมศรี ได้ทำบัตรกดเงินสด ปลอดดอกเบี้ย 2 รอบบัญชีแรกจึงนำไปซื้อกองทุนประเภทตั๋วเงินกู้ ครบ 2 รอบบัญชี ก็ขายกองทุน ได้กำไรส่วนต่างมาพอเป็นค่าน้ำมันรถได้

      จะเห็นได้ว่า จากสองเรื่องที่ผมหยอดไว้เป็นน้ำจิ้มนี้ ไม่ได้มีการใช้เงินของตัวเองมาลงทุนแต่อย่างใด มิหนำใจยังอาจทำได้หลายๆรอบในแต่ละบัญชีหนี้ สามารถนำกำไรที่ได้มาเก็บสะสมเป็นเงินลงทุนระยะยาวได้อีกตามสโลแกน “ให้เงินทำงาน” ได้อีกต่อไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น

 

   แต่ก่อนที่ท่านจะใช้กลยุทธ์นี้ ท่านต้องผ่านการเรียนรู้อย่างเข้าใจและฝึกปรือวรยุทธให้ถึงแก่น จึงจะสามารถท่องยุทธจักรได้อย่างไม่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนกระบวนท่านั้น เบื้องต้นได้เตรียมวรยุทธขั้นต้นในหนังสือคัมภีร์ฉบับนี้ให้ท่านได้ฝึกปรือแล้ว หลังจากชำนาญแล้วท่านอาจพลิกแพลงกลยุทธ์ แล้วลองฝึกในขั้นประยุกต์ให้สูงกว่าในตำรานี้ก็เป็นได้ แต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะเตือนสติไว้ให้ระลึกถึงตลอดเวลา คือ พึงระวังความโลภ(อยากได้มากขึ้นและเร็วขึ้น) จะมาครอบงำ ทำให้ธาตุไฟเข้าแทรก ถึงกับลมปราณแตกซ่านได้   จะทำให้ท่านต้องเสียเวลามาเดินลมปราณใหม่ตั้งแต่ต้น ฉะนั้น พึงระวังในการท่องยุทธจักรอย่างมีสติเสมอ

 

                                                        จากใจผู้เขียน

 

                                                     โทหนี้ วอล์คเกอร์
                                                        (Tony Walker

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คัมภีร์เศรษฐี ภาคปฏิบัติ ตอนที่ 1

กฎข้อที่ 1 มองไม่เห็นลูกค้า อย่าคิดทำธุรกิจ
ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนมิได้เป็นเศรษฐีแต่อย่างใด หากแต่
ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำธุรกิจอยู่บ้าง เริ่มตั้งแต่ก้าวแรกที่คิดจะทำ
ธุรกิจ จดทะเบียนเป็นบริษัท การบริหาร การตลาด การผลิต การเสียภาษี วาง
แผนระบบภาษี จนกระทั่งการบริหารทรัพย์สินที่เกิดจากกำไร
ว่ากันว่า การเริ่มต้น สำคัญที่ ก้าวแรก การวาดฝันทางความคิด ทุกคนทำ
ได้ดีอยู่แล้ว ปัญหาที่ทุกคน แม้กระทั่งตัวผู้เขียนเองก็ผ่านมาแล้ว คือ การ
แปลงความคิดให้เป็นรูปธรรม และเริ่มลงมือทำตามขั้นตอนที่วางแผน นัก
ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทุกคน เคยผ่านจุดเริ่มต้นที่เป็นก้าวแรกมาแล้ว บาง
คนลงมือลุยธุรกิจเลย โดยไม่ได้วางแผน บางคนวางแผนแล้ว วางแผนอีก
แก้ไขแผนให้สมบูรณ์ที่สุดเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด สุดท้ายไม่ได้
ทำซักที เพราะแผนไม่สมบูรณ์อย่างที่ใจคิด
ไม่เป็นไรครับ วันนี้ผมมีเคล็ดลับมาบอก จากประสบการณ์ที่ได้เริ่มต้น
ธุรกิจด้วย 2 มือ ล้มลุกคลุกคลานมานับครั้งไม่ถ้วน จนพบเคล็ดลับความ
สำเร็จจนได้ นั่นคือ ก้าวแรกของผม......
กฎข้อที่ 1 ถ้ามองไม่เห็นลูกค้า อย่าเริ่มทำธุรกิจ

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อแนะนำการตั้งชื่อกิจการหรือชื่อแบรนด์

เมื่อวันก่อนมีน้องที่รู้จักกันมาขอความเห็นเรื่องโลโก้ของบริษัทที่กำลังจะเปิด ผมดูแล้วโลโก้ก็สวยดี แต่มาติดใจอยู่ตรงชื่อกิจการนี่แหระ เนื่องจากว่าชื่อกิจการเล็งไปที่ลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเฉพาะ แต่พอสอบถามถึงตัวสินค้าได้รับคำตอบว่า เป็นสินค้าทั่วไปไม่เฉพาะกลุ่มเหมือนชื่อ ก็เลยทำให้ผมจำเป็นต้อง Comment หรือออกความเห็นซักหน่อยครับ สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับน้องคนดังกล่าว ก็เลยบอกไปว่าไม่จำเป็นต้องมาแก้ไขตามที่ Comment ถ้าเราสามารถสร้างชื่อจนเป็นที่ยอมรับได้ ก็ไปได้เหมือนกัน เพียงแต่ในระยะแรกอาจสูญเสียกลุ่มลูกค้าทั่วไปเพราะเค้าเห็นชื่อแล้วอาจจะพิจารณาตัวเองแล้วไม่กล้าเข้าไปดูสินค้าเรา เฉกเช่น ร้านค้าแบบไม่ติดแอร์ คนทั่วไปจะมั่นใจว่าน่าจะราคาถูกกว่า ร้านค้าที่ติดกระจกและเปิดแอร์ ฉันใดฉันนั้น ทั้งๆที่ในความเป็นจริง ร้านค้าที่ติดแอร์อาจจะราคาถูกกว่าเพราะมีกำลังทุนซื้อได้สินค้าในคราวๆมากกว่าทำให้ต้นทุนถูกกว่าและขายได้ในราคาที่ต่ำกว่า เพียงแต่ความรู้สึกของลูกค้าเองที่เห็นเป็นร้านติดแอร์แล้วคิดว่าต้องแพงกว่าร้านไม่ติดแอร์ชัวร์ ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้กลุ่มตลาดลูกค้าคนไทย ยังไม่สามารถมีจอมยุทธท่านใดมาเปลี่ยนความรู้สึกนี้ได้

การตั้งชื่อกิจการหรือชื่อแบรนด์ ในยุคก่อนมักจะตั้งตามชื่อเจ้าของกิจการเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของบวกลักษณะกิจการ เช่น ต๋อยไดนาโม ติ๋มบิวตี้ ฯลฯ หรือไม่ก็ตั้งตามพื้นที่ เช่น สระแก้วกลการ ขาหมูเหม่งจ๋าย ฯลฯ ทำนองนี้ ซึ่งหากต่อมาได้มีการขยายกิจการไปยังพื้นที่อื่นๆ อาจก่อให้เกิดความสับสนขึ้นได้ โดยเฉพาะการนัดพบของลูกค้า อาจไปผิดสาขาได้ ฉะนั้นเจ้าของกิจการที่วิสัยทัศน์ระยะไกล ควรจะเล็งเห็นถึงการวางแผนตั้งแต่การตั้งชื่อ จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลารีแบรนด์กันใหม่เมื่อกิจการเติบโต เพราะจริงๆแล้ว การตั้งชื่อ ก็เป็นการสื่อสารกับลูกค้าอย่างหนึ่งโดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มใหม่ที่อยากจะเข้ามาใช้บริการสินค้าเรา

มีทริคในการตั้งชื่อมาฝากกันครับ จริงๆก็มีหลายแนวทาง แต่วันนี้แนะนำ 2 แนวทางละกันนะครับ เพื่อให้ตัดสินใจได้ง่าย ไม่ง้านก็เฉพาะตั้งชื่ออาจเสียเวลาคิดจะไม่เป็นอันได้ตั้งบริษัทกันพอดี

แนวทางแรก ถ้าคิดอะไรไม่ออกจริงๆก็เอาวันเดือนปีเกิดไปเทียบดูกับตำราหมอดูครับ ว่า ตัวไหนไม่เป็นกาลกิณีก็เลือกๆมาผสมกันเป็นคำ แล้วก็ตรวจกำลังของอักษรว่าให้ผลคำทำนายออกมาดี วิธีนี้ดูแนวไสยศาสตร์ไปนิดนึงแต่รุ่นเก๋าบอกได้ผลเช่นกัน

แนวทางที่สองอาจจะหลายขั้นตอนหน่อย แต่ผมก็ใช้แนวทางนี้ตลอดครับ ดูแล้วทำให้รู้สึกว่า เจ้าของกิจการพอมีกึ๋นอยู่บ้าง
ส่วนแรก คิดคำจำกัดความหรือสโลแกน ของกิจการที่เราจะตั้งขึ้นก่อน โดยเฉพาะจุดเด่นของกิจการ หรือไม่ก็จุดเด่นของสินค้าที่เราจะขาย บริการที่เราจะเสนอ หลักๆก็จะมีในด้านความคงทน ประหยัด คุ้มค่า ทำให้ดูดี แล้วเราก็ไปหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงแต่ฟังดูดีมีชาติตระกูลมาเลือก ติ๊ต่างว่า เราจะตั้งกิจการตัวแทนนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์ฯ เราต้องพิจารณาก่อนว่า Supplier หรือฝ่ายเจ้าของบ้าน ที่ดิน ที่จะฝากเราขายนั้น เค้ามีทัศนคติกับพวกนายหน้าขายบ้านอย่างไร เราก็หาจุดมั่นใจไปเสริม เช่น ทัศนคติเจ้าของบ้านมองว่า นายหน้าต้องเขี้ยว เอาค่านายหน้าแพง แล้วก็ไม่ค่อยใส่ใจต่อการนำเสนอขายหลังจากทำสัญญา ก็ควรจะสื่อสารว่า เราดูแลดุจบ้านของญาติ คิดค่าบริการสมเหตุผล แล้วก็ไปหาคำที่สามารถสรุปความหมายของจุดเด่นบริการเรา ในพจนานุกรมฉบับบัณฑิตราชสถาน มีเพียบ สำหรับตัวอย่างนี้ ผมพอจะได้เป็นคำว่า ญาติมิตรพี่น้อง ให้ดูอินเตอร์หน่อยก็ใช้คำว่า Family เพราะอย่าลืมว่า สมัยนี้มีอินเตอร์เน็ต ลูกค้าเราไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มคนไทยอีกต่อไป การสื่อสารให้เข้าได้ทุกชาติภาษาก้อไม่ใช่เรื่องเสียหาย
ส่วนที่สอง คือ ส่วนของลักษณะกิจการ เราเพียงแต่ดูว่า กิจการเรามีชื่อเรียกทางธุรกิจมีอะไรบ้าง ก็นำมาเรียงกัน แล้วก็เลือกชื่อที่ชอบ ทั้งนี้อย่าลืมเรียกหุ้นส่วนมาช่วยกันออกความเห็นด้วยนะครับ เด๊วจะตีกันซะก่อนจะได้ระดมทุน ขอยกตัวอย่างเดิมนะครับธุรกิจนายหน้าค้าอสังหา ส่วนใหญ่ก็จะใช้คำว่า พร็อพเพอร์ตี้ แอสเซท อสังหา บ้านและที่ดิน ฯลฯ ก้อเลือกที่ชอบมาใส่ต่อท้ายส่วนแรกได้เลยครับ

การดำเนินการขั้นต่อไป อย่าลืมตรวจสอบการจองชื่อที่ สำนักจดทะเบียนธุรกิจ นะครับ ว่าไปซ้ำกับใครหรือไม่ ถ้าซ้ำก็จดไม่ได้ สามารถเข้าจองได้ที่ http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=6 หรือไม่ก็ไปที่สำนักจดทะเบียนธุรกิจสาขาใกล้บ้านท่านแล้วนำบัตรประจำตัวประชาชนไปติดต่อขอจองชื่อได้ หลังจากนั้นคุณมีเวลา 30 วันในการไปจดจัดตั้งครับแต่ถ้าไม่ทันก็ไปขอจองชื่อเดิมอีกครั้งก็จะมีเวลาอีก 30 วัน (ครั้งหลังแนะนำให้ใช้บริการทางเน็ตดีกว่านะครับ ไม่ง้านเด๊วเจ้าหน้าที่จำหน้าได้ 555)

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

ปรับโครงสร้างหนี้!!! ทางออกหรือทางตัน กันแน่

เชื่อว่าหลายๆที่ท่านที่ไม่เคยทำธุรกิจ หรือไม่เคยกู้แบงค์มาก่อน คงจะแค่เคยได้ยิน เต็มที่ก็แค่สงสัยแล้วก็ปล่อยผ่านไป แต่สำหรับนักธุรกิจ หรือนักกู้มืออาชีพแล้ว มันคือเรื่องเป็นเรื่องตายที่เรียกได้ว่า ถึงทางแยกให้ตัดสินใจ เลือกทางซ้ายอาจตายช้า เลือกทางอาจตายเร็ว หรือไม่เลือกก็ตายอยู่ดี แปลกมั๊ยครับ แต่ข้อดีมันก็คือ สองทางเลือกแรก เรามีโอกาสเลือก เพราะเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินมักจะมีข้อเสนอมาให้เราเลือก ส่วนทางเลือกที่สามเจ้าหนี้จะเป็นคนเลือกให้ แล้วทางรอดมันอยู่ไหนเนี่ย ทำไมมีแต่ตาย ตายในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าถูกปลิดชีวิตทิ้งนะครับ แต่เป็นการตายทางเครดิตส่งผลให้เป็น NPL ย่อมาจากอะไรไปหาเองนะครับ ถ้าจะให้สรุปคำแปลสั้นๆก็แปลว่า ชักดาบ ชัดสุด!!!
ในมุมของการกู้แบงค์ การปรับโครงสร้างหนี้นั้น เจ้าหน้าที่แบงค์มักจะบอกเราว่า มันเป็นทางออกที่ดี แล้วมันจริงมั๊ย ขอตอบแบบคอนเฟิร์มว่า จริงครับ แต่มันเป็นทางออกของแบงค์หรือสถานบันการเงินครับ จากนั้นผมก็สามารถฟันธงได้อีกว่า ถ้ารอดจากการปรับโครงสร้างครั้งแรกนั้น ไม่ได้แปลว่า เครดิตคุณกลับมาปกติแล้วแบงค์จะให้เงินกู้เพิ่มครับ ฉะนั้น ไปคิดดีๆ ทีละช็อต ก่อนปรับโครงสร้าง จริงๆแล้วถ้าหากธุรกิจเรามีขนาดใหญ่ มีหุ้นอยู่ในตลาดหุ้น การปรับโครงสร้างถือว่าเป็นทางออกที่ดีสำหรับกิจการครับ เพราะผลกระทบจะเยอะ ทำให้เกิดการควบคุม ตรวจสอบอย่างหนัก นอกลู่นอกทางไม่ค่อยได้ ทำให้กิจการได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุด แต่สำหรับ SMEs แล้ว ปรับแล้วรอดก็ดี ปรับแล้วตายก็ไม่เป็นไร ไม่มีใครเดือดร้อน เพราะมีเฉพาะเจ้าของกิจการกับแบงค์เท่านั้นที่เป็นคู่ชกกัน ไม่ได้เสียหายไปถึงระดับมหาชน
ทันทีที่เราผ่อนชำระเงินกู้ตามงวดช้าถึงสองงวดติดกัน จะมีเจ้าหน้าที่จากแบงค์ติดต่อมาสอบถามและเสนอการปรับโครงสร้างให้ทันที ซึ่งในขณะนั้น เจ้าของกิจการมักจะตกใจและไม่ได้มีการเตรียมทางเลือกไว้มากนัก (กรณีนี้ไม่ได้นับรวมถึงกิจการที่มีที่ปรึกษาทางกฎหมายและบัญชี แบบจ้างเต็มเวลานะครับ) เนื่องจากไม่ค่อยรู้ช่องทางด้านกฎหมายและบัญชีเท่าไรนัก ก็จะคิดแค่ว่าทำไปก่อนให้บัญชีเงินกู้ของเรากลับไปเป็นปกติก่อน (ซึ่งเจ้าหน้าที่แบงค์มักจะย้ำนักย้ำหนา) จริงๆแล้วท่านคิดผิดครับ ทันทีที่ท่านเลือกเซ็นต์สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ในสายตาแบงค์เค้านับหนึ่งทันที แล้วทางออกสำหรับช่องทางนี้ล่ะ ผมขอแนะนำให้ ปิดยอดตามจำนวนที่ค้างครับ ถึงแม้จะเข้างวดที่สามก็ตาม เรายังมีเวลาเกือบ 30 วันกว่าแบงค์จะประชุมแล้วสรุปให้เราเป็น NPL ครับ แต่ถ้าหาเงินปิดยอดเงินที่ค้างทั้งสามงวดไม่ได้ ทำงัย ลองดูกันต่อครับ
ปรับโครงสร้างหนี้ครั้งแรก แบงค์จะบอกเราครับ ว่า ให้เวลาหกเดือน หรือเก้าเดือนในการลดภาระในการผ่อนชำระต่องวด(ฟังดูดีมั๊ยครับ ช่างกรุณาเราเหลือเกิน) สมมติเราเคยต้องผ่อนชำระเดือนละเก้าหมื่นบาท แบงค์จะถามว่าซักหกหมื่นไหวมั๊ย ถ้าไหวหกเดือนผ่อนตรง บัญชีจะกลับเป็นปกติ แล้วก็จะทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้มาให้ ขอเตือน!! นะครับว่า อย่าเพิ่งผลีผลามไปรับปากเด็ดขาด ถ้ายังไม่ได้ถามว่า ในสัญญาปรับโครงสร้างหลังจากหกเดือนไปแล้ว ตัวเลขการผ่อนชำระจะเป็นยังไง หรือถ้าจะให้ดีจริงๆ ขออ่านสัญญาปรับโครงสร้างทั้งฉบับก่อนที่จะตกลงครับ แล้วท่านจะได้ตัวเลขที่ชัดเจน อาจทำให้ตาสว่างขึ้นเยอะ ว่า ไอ้คำว่า ช่วยลดภาระในการผ่อนชำระต่องวด นั้น มันมีวาระซ่อนเร้นขนาดไหน แต่เชื่อเถอะครับ ถึงรู้ก็ต้องยอมปรับครับ เพราะทางเลือกตอนนั้นคงมีไม่มากแล้วแบงค์ก็ให้เวลาคิดน้อยอยู่แล้วไม่ต้องห่วง คำขู่ว่า NPL นี่ มันน่ากลัวสำหรับกิจการมาก เพราะจะไม่สามารถกู้ได้อีก แล้วก็ไม่รู้เป็นไร ถ้าท่านกลัวท่านก็มักจะโดน แต่ถ้าท่านไม่กลัว กลายเป็นเจ้าหนี้จะเกรงใจท่าน แปลกมาก!!!
กรณีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับแบงค์นั้น ขอท่านคิดเสมือนว่ากำลังเล่นไพ่โปกเกอร์ หรือเก้าเก ยังไงยังง้านเลยครับ ไม่ใช่ว่าคนถือไพ่น้อยจะต้องแพ้เสมอไป(ผมจึงชอบเล่นมากถึงมากที่สุด เพราะดวงจั่วไพ่ไม่ค่อยได้เรื่องเท่าไหร่ แต่ถ้าวางฟอร์มมีสิทธิกินตังค์ไพ่สูงครับ) ท่านต้องสังเกตลักษณะบุคลิกของผู้เจรจาด้วยนะครับ เพราะก่อนเค้าจะเรียกเราเข้าไปคุยนั้น ข้อมูลเราเกี่ยวกับทรัพย์สินและการดำเนินกิจการ รวมตลอดถึงประวัติการผ่อนชำระ อีกทั้งยังมีเครดิตบูโรล่าสุดเราอยู่ในมือ แม่เจ้า!!! จะเอาอะไรไปต่อรองกันเนี่ย เค้ารู้เราซะขนาด ถ้าจะเปรียบมวยแล้ว แบงค์เหมือนนักมวยรุ่นเฮฟวี่เวท แถมไม่จำกัดน้ำหนักซะด้วย ส่วนเรานั้น เหมือนมวยสมัครเล่น ขนาดสวมเฮดการ์ดเข้าไปแล้ววิ่งหนีอย่างเดียว ยังมีสิทธิโดนไล่ทุบน็อคคาเวทีได้ แล้วจะต่อยกันยังไง ให้มีโอกาสได้ผลตามที่เราคาดการณ์ไว้ มีครับ มันต้องมี เพียงแต่เราจะฟอร์มดีหรือป่าว ทำให้เค้าเห็นฟอร์มเราแล้วพอจะคะเนน้ำหนักหมัดเราได้มั๊ย ซึ่งธรรมชาติของนักมวยตัวใหญ่ จะเคลื่อนไหวช้า กว่าจะต่อยเราทีน่ะ เราเห็นตั้งแต่เค้าเงื้อหมัดแล้ว เรามวยเล็กน้ำหนักเบา ข้อดีของเราคือ เราไวกว่าแน่นอนไม่ต้องห่วง ถึงน้ำหนักหมัดเราจะเบาแต่ถ้าเราหาจุดอ่อนเจอ ต่อยที่เดียวซ้ำๆ เชื่อมั๊ยครับเค้าเกรงใจ ไม่ใช่เกรงกลัวนะ ขอย้ำ!!
ความรู้ใหม่ที่ผมเพิ่งทราบก็คือ ถ้าเราเป็นหนี้ NPL แบงค์จะต้องนำเงินไปสำรองเพื่อกันหนี้เสียให้กับแบงค์ชาติ (ยังไม่ได้ตรวจสอบนะครับว่า รายละเอียดปรากฎจริงแท้ขนาดไหน เพราะเข้าถึงข้อมูลยากมาก รบกวนผู้รู้ชี้แนะด้วยนะครับ) คงจะเป็นโชคของผมมากกว่าฝีมือ ที่ผมไปได้ข้อมูลตรงนี้ ทำให้ผมเห็นจุดอ่อนของมวยยักษ์ใหญ่ และแน่นอนครับ ผมต่อยจุดเดียวแน่นอน เพราะน้ำหนักหมัดเรามันเบา ต้องต่อยซ้ำๆถึงจะได้แผล แต่ถึงจะเป็นจุดอ่อน ถ้าเค้ารู้ว่ากำปั้นเราไม่มีแรงพอจะทำให้เค้าเป็นแผลได้ เค้าก็อาจจะทุบเราดิ้นตายคาเวทีได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราต้องโชว์ลีลาการหมัดให้ประทับใจคู่ชกก่อนที่จะปล่อยหมัดเด็ด แน่นอนครับ Concept แบงค์เค้าต้องการเงินดอกเบี้ยมากกว่าทรัพย์สินที่ค้ำประกันอยู่แล้ว ถ้าถึงทางตันจริงๆ เค้าถึงจะบังคับเอาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ทางตันที่ว่านี่ก็คือ ถ้าแบงค์มองแล้วว่ากิจการเราไม่สามารถสร้างเม็ดเงินได้ ก็เสมือนกำปั้นที่ไม่มีพิษสง ฉะนั้นเราต้องฟอร์มกิจการเราให้ดีว่ากิจการเรายังสามารถสร้างเม็ดเงินอยู่นะ และน่าจะเพียงพอที่จะชำระเงินให้แบงค์ต่องวดด้วย หากแต่ข้อเสนอยังรับกันไม่ได้ คือ การจะปรับโครงสร้างทั้งที น่าจะให้ผ่อนชำระน้อยกว่าความเป็นจริงๆมากๆและให้เวลานานๆหน่อย แล้วเอาดอกเบี้ยไปทบต้นตอนที่เศรษฐกิจดี เราก็จะมีโอกาสสร้างเม็ดเงินที่มากขึ้นไปชำระด้วย หรือหากพลาดจริงๆ เมื่อเศรษฐกิจดี มูลค่าหลักทรัพย์ประกันเราก็จะมีมูลค่าสูงขึ้นด้วย เพราะแบงค์จะรับแต่หลักทรัพย์ที่เป็นที่ดิน และที่ดินไม่เคยมีมูลลดน้อยลง มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ราคาตลาดขณะเศรษฐกิจไม่ดี ราคาตลาดจะต่ำกว่าความเป็นจริงเยอะ อีกทั้งวิธีการบังคับมันมีวาระซ่อนเร้นกันอยู่แล้ว ที่ดินทำเลดีๆมูลหนี้น้อยกว่ามูลค่าที่ดินเยอะ แบงค์ก็มักจะมีเจ้าสัวในสังกัดมาตัดซื้อในราคาที่ลูกหนี้จำยอมเจ้าหนี้พอใจไปก่อนบังคับคดีเสมอ(อันนี้จากคำบอกเล่ากันมานะครับ กรุณาอย่าถามว่าใครบอก) ที่นี้ ในเรื่องการกิจการที่ยังสร้างเม็ดเงินอยู่ ถ้าเราสามารถทำให้แบงค์เชื่อได้ สังเกตนะครับผมใช้คำว่าเชื่อได้ ไม่ได้หมายความว่ามันเกิดขึ้นจริง หรือถ้าเป็นจริงอยู่แล้วก็จะดีมาก คือ ถ้าแบงค์เห็นภาพแล้วเชื่อตามที่เรานำเสนอ เค้าก็อาจให้โอกาสที่ดีกับเรา คือ ให้ข้อเสนอที่ดีกว่าลูกหนี้ทั่วไป เพราะดูโอกาสรอดแล้วโตอย่างมีอนาคต เค้าก็กอดเราไว้แน่นดั่งลูกรัก คือ พูดง่ายๆ ถ้าเห็นแววเราโต สามารถหาเงินมาเลี้ยงเค้าได้ในอนาคต เค้าก็อาจยอมประคบประหงมเราไปอีกหน่อย เพราะความเสี่ยงเค้าน้อย ที่ดินเราอยู่ในมือเค้า จะบังคับเมื่อไหร่ก็ได้ แล้วยิ่งนับวันก็มูลค่าก็สูงขึ้น สูงมากกว่าดอกเบี้ยที่ถูกแบงค์ชาติกำหนดไว้อยู่แล้ว ฉะนั้นสิ่งที่สองที่เราต้องทำให้แบงค์เห็นภาพต่อไปก็คือ หลักทรัพย์เรานับวันก็จะต้องมีมูลค่ามากขึ้นและคุ้มค่าแก่การรอคอยบังคับ
เห็นมั๊ยครับว่า ทุกอย่างมันมีขั้นมีตอน อันดับแรก กิจการต้องสร้างเม็ดเงินเพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ย ถึงจะไม่คุ้มต้นก็ตามที แต่ต้องมีโอกาสเพิ่มได้ หลังจากผ่านขั้นแรก แบงค์จะเริ่มมองเห็นพิษสงหมัดของเราว่ามีพิษสงอยู่บ้าง แถมถ้าให้โอกาส แบงค์ก็จะไม่ต้องสำรองเงินให้กับแบงค์ชาติในส่วนหนี้ของเราที่คาดการณ์ว่าจะเป็น NPL Win Win ทั้งแบงค์ทั้งเรา ต่อมาก็เป็นการนำเสนอมูลค่าเพิ่มของหลักทรัพย์ค้ำประกันที่อยู่ในมือแบงค์ เราต้องหาข้อมูลชักแม่น้ำทั้งห้า ไม่ว่าโปรเจคจริง หรือที่กำลังจะเป็นโปรเจคจากข่าววงใน โดยเฉพาะเป็นโปรเจคของทางรัฐบาลที่จะทำให้เกิดผลดีต่อการเพิ่มมูลค่าของที่ดินเรา ซึ่งอยู่ในกำมือแบงค์ แต่ถ้ามันจนแต้มจริงๆ รัฐบาลไม่มีโปรเจคที่จะทำให้เกิดผลบุญมาถึงที่ดินเราได้เลย ก็อย่าเพิ่งตกใจครับ ยังมีทางออกครับ ในเมื่อไม่มีใครคิดโปรเจค เราก็คิดโปรเจคของเราเองสิครับ จะไปยากอะไร
เท่านั้นล่ะครับ คำถามไม่รู้มาจากไหนพุ่งเข้าใส่เต็มกะบาลเลย จะทำโปรเจคอะไร จะรอดมั๊ย ใครจะลงทุน เค้าจะเชื่อเหรอว่าทำได้ เดี๋ยวก็หัวเราะใส่หาว่าเราบ้า หนี้แบงค์ยังไม่เคลียร์ มีหน้ามาคิดโปรเจคในที่ดินที่ติดอยู่กับแบงค์ คำตอบคือ แล้วกฎหมายประเทศห้ามมิทราบ ไอ้เรื่องคิดโปรเจคในที่ดินที่ติดแบงค์เนี่ย เรื่องจริงเคยเกิดขึ้นมาแล้วนะครับ ไม่ใช่ไม่มี ชายไทยคนหนึ่งมีที่ดินติดแบงค์อยู่ ไม่มีเงินผ่อน โดนยึดแน่ ปรากฎว่าไม่รู้จะทำยังไง ได้แต่ไปจุดธูปขอขมาปู่ย่าตายายที่ไม่สามารถรักษาทรัพย์สินที่ตกทอดมาได้ เดชะบุญ มีเจ้าสัวรายใหญ่กำลังให้นายหน้าที่ดินมาหาดูที่ดินซึ่งคาดว่าจะขยายโปรเจคใหญ่ มาบริเวณใกล้เคียง ตัวเองไม่มีความคิดอะไรเลย กิจการก็ต้องล้มไปเพราะการเมืองมัวแต่เล่นกีฬาสีกันอยู่ นายหน้าคนดังกล่าวก็ยังมีใจคุณธรรมอยู่บ้าง เลยแนะนำให้ไปจ้างคนอื่นเขียนโปรเจคให้ เพราะถ้าเราคิดเองไม่ออก แถมบางทีคิดออกแต่ก็อาจไม่เวิร์ค หรือถ้าเวิร์ค แต่นำเสนอไม่เป็นก็เท่านั้น ชายไทยดังกล่าวก็เชื่อคำแนะนำ ไปถามหาคนเขียนโปรเจค ซึ่งก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกลก็ไปถามแบงค์นั่นแหระครับว่า มีใครรับเขียนโปรเจคบ้าง ส่วนใหญ่พนักงานสินเชื่อเค้าจะรู้จักเยอะไม่เชื่อลองไปถามดูสิครับ ที่ตลกกว่านั้นคืออะไรทราบมั๊ยครับ ชายไทยคนั้นบอกว่าไม่มีตังค์ค่าจ้างเขียนนะ แต่ถ้าโปรเจคผ่านได้ตังค์มา จะจ่ายเป็นค่าเขียนโปรเจค 5% อุแม่เจ้า มีคนใจดีรับเขียนให้ด้วย เพราะเค้าเป็นนักเขียนโปรเจค เค้ามองออกอยู่แล้วว่า ที่ดินมันเวิร์คมั๊ย แถมมีพรรคพวกเป็นพนักงานสินเชื่อของแบงค์ ข่าววงในกว้างแน่ว่า แบงค์ต้องการกิจการประเภทไหนในอนาคตอันใกล้ ปรากฎว่างานนี้ คนเขียนโปรเจครับงานเดียวนี้สามารถลาออกไปตั้งบริษัทเองได้ เจ้าของที่ดินสามารถหานายทุนมาช่วยลงขันเอาที่ออกจากแบงค์ แล้วไปทำเป็นกิจการโรงแรมควบคู่กับร้านอาหาร พอจะเกิดแนวทางอะไรกันบ้างมั๊ยครับ สำหรับช่วงนี้ ไว้แค่นี้ก่อนละกัน ครับเดี๋ยวจะยาวไป น่าเบื่อ!!!!

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ไฟแนนซ์มายึดรถ

เมื่อวันก่อนมีพรรคพวกโทรมาปรึกษาเรื่องไปเช่าซื้อรถยนต์ไว้ แล้วไม่ได้ผ่อน มีแกงค์หมวกกันน็อคมาติดตามรถ ข่มขู่สารพัด ก็เลยงงนิดหน่อย เพราะเพื่อนเราก็เป็นระดับนายทหาร กล้ามากก!!
เลยสอบถามถึงที่มาที่ไปก็ได้ความว่า เดิมทีก็ผ่อนชำระตามปกตินั่นแหระ ต่อมาเกิดจำวันชำระผิดและชำระช้าไปนิดหน่อย เลยโดนหักค่าธรรมเนียมในการติดตาม ทำให้ยอดเงินชำระไม่เต็มจำนวนและค้างงวดนิดหน่อย ซึ่งทางไฟแนนซ์ก็ค้างเรื่องยอดไว้ ถึงแม้งวดต่อไปจะผ่อนชำระตามปกติด้วยความเข้าใจของผู้เช่าซื้อว่าไม่มีปัญหาอะไร และเมื่อเวลาผ่านมาหลายๆงวดเข้า ค่าธรรมเนียมก็เริ่มสะสม บวกกับการชำระช้าในบางงวดต่อมา ก็ยังไม่มีการแจ้งอะไร พออยู่ๆมีใบแจ้งยอดว่าชำระไม่ครบตามงวด ก็เลยเริ่มทำให้ไม่เข้าใจ เมื่อสอบถาม พนักงานก็จะตอบเฉพาะที่เห็นยอดในคอมพิวเตอร์ว่าค้างชำระอยู่เท่าไหร่ และก็แจ้งให้ชำระเติมให้ครบ โดยไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ ทำให้ผู้เช่าซื้อรู้สึกไม่ค่อยดีแล้วเลิกชำระ เพื่อต้องการให้มีเจ้าหน้าที่ไฟแนนซ์มาเคลียร์ แต่การณ์กลับไม่เป็นดังคาด แทนที่จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อมาคุย กลับมีแต่พนักงานโทรมาทวงค่าเช่าซื้อที่ค้าง แถมขู่ว่าจะมายึดรถ ทำให้รู้สึกว่า ช่างไม่เกรงใจศักดิ์ศรีผู้เช่าซื้อที่เป็นถึงระดับนายทหารผู้ใหญ่ ต่อมาฝ่ายติดตามได้เข้ามาถึงที่ทำงานแล้วก็โน้มน้าวให้คืนรถแถมยังรับปากว่าสามารถหารถให้แทนได้ในราคาถูกเหลือใจ โชคดีที่ไม่มีการมอบรถคืนให้ในวันดังกล่าว เพราะพบพิรุธหลายอย่างในเรื่องรถที่จะหามาให้แทน
กรณีดังกล่าวนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นกับหลายๆท่าน ซึ่งหากไม่เข้าใจขั้นตอนกระบวนเช่าซื้อและการผิดนัดชำระ จนเรื่องเข้าสู่กระบวนการติดตามรถ อาจทำให้เรื่องราวบานปลายกันไปใหญ่ ซึ่งหากจะพิจารณาจากข้อกฎหมายแล้ว น้อยคนนักที่จะเข้าใจ ส่วนมากจะมีผู้มาปรึกษาว่า พนักงานติดตามรถสามารถคว้ากุญแจจากคอพวงมาลัยแล้วดับเครื่องยนต์ดึงกุญแจไปได้เลยหรือ จากนั้นก็จะไล่คนขับให้ลงจากรถไป โดยบอกให้ติดต่อไปที่บริษัทไฟแนนซ์เอง โดยผู้อาจหาญกระทำการดังกล่าวมักจะมากันเป็นกลุ่มใหญ่สี่ถึงห้าคนมาล้อมรถ ทำให้ผู้เช่าซื้อไม่กล้ามีปัญหาด้วยเพราะเกรงว่าจะถูกทำร้าย ในเรื่องดังกล่าวผมก็ขอแนะนำเป็นประเด็นๆโดยใช้หลักวิญญูชนก่อนนะครับ อาจจะมีหลักกฎหมายทั่วไปแทรกบ้าง ในฐานะที่เคยมีประสบการณ์ทั้งในส่วนของการติดตามยึดและฝ่ายถูกตามยึด
พนักงานติดตามยึดรถ โดยส่วนตัวนั้นไม่มีอำนาจแม้แต่นิดเดียวในการติดตามยึดรถ เว้นแต่จะได้รับมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว ทางบริษัทไฟแนนซ์จะจ้าง Out Source ซึ่งส่วนมากจะเป็นสำนักงานกฎหมาย ซึ่งก็แน่นอนครับ สำนักงานกฎหมายไม่ลงมือทำเองหรอก ก็จะหาคนในเครื่องแบบทำ Side Line เนื่องจากมีอำนาจแฝงในการปฏิบัติหน้าที่ (กรณีนี้เฉพาะคนในเครื่องแบบเป็นตำรวจนะครับ) โดยอาจจะอาศัยช่วงตั้งด่านขอตรวจใบขับขี่ และสำเนาคู่มือจดทะเบียน ซึ่งตามกฎหมายจราจร,รถยนตร์,ขนส่ง ก็ตามแต่เจ้าพนักงานมีอำนาจทำได้ เพียงแต่บังเอิญจะไปรับ Job และมีรถคันที่หมายตาไว้แล้ว ก็เลยไปดักตั้งด่านขอตรวจ (เฉพาะบุคคลบางกลุ่มนะครับ ไม่ได้หมายความรวมถึงตำรวจส่วนใหญ่) แต่ครั้นเมื่อพบว่า ขาดส่งค่าเช่าซื้อ ก็ไม่ได้เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ตำรวจเลยแม้แต่น้อย เพราะเป็นคดีแพ่ง แต่ถ้าบริษัทไฟแนนซ์มอบอำนาจมาให้ตำรวจคนดังกล่าว ก็สามารถทำเป็นการส่วนตัวได้ไม่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ แต่ส่วนใหญ่มักจะถูกร้องเรียนทีหลัง (ในฐานะเคยอยู่งานวินัยตำรวจ ไม่แนะนำให้ทำนะครับ) ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้ ผู้เช่าซื้ออาจเข้าใจผิดคิดว่าตำรวจมีอำนาจยึดรถไปคืนให้ไฟแนนซ์ ขอย้ำนะครับ ตำรวจไม่มีอำนาจ โดยเฉพาะการใช้กำลังเข้าจับกุญแจรถดับเครื่องแล้วดึงกุญแจออกจากตัวรถ ตามอำนาจกฎหมาย ไม่ว่าทั้งทางอาญาและแพ่งไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานไว้ เว้นแต่จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดและบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น หากจำเลยขัดขืนจึงจะใช้กำลังได้ตามคำสั่งศาล หากกระทำนอกเหนือจากนี้เป็นการกระทำโดยพลการทั้งสิ้น
กรณีการเข้าจับกุญแจแล้วดับเครื่อง อีกทั้งดึงกุญแจรถออกไป เคยมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาแล้ว และผู้ติดตามรถสามารถหลอกล่อให้คนขับลงจากรถแล้วขึ้นรถขับไป ปรากฎว่าผู้ขับขี่ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อด้วยได้มาแจ้งความที่สถานีตำรวจซึ่งผมไม่ใช่เจ้าของคดีหรอกครับ แต่ก็ให้ความสนใจมาก เนื่องจากร้อยเวรเจ้าของคดีตั้งข้อหา วิ่งราวทรัพย์ สร้างความพิศวงให้กับผมยิ่งนัก เพราะปกติคดีวิ่งราวทรัพย์มักจะเป็นสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กๆเช่น สร้อยคอ แต่นี่เป็นรถยนต์ ผมจึงได้ติดตามคดีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และก็เป็นที่พลิกความคาดหมายครับ ผมคิดว่าผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น คงจะให้ทบทวนแล้วแจ้งข้อหาใหม่ ปรากฎ่าสำนวนสั่งฟ้อง ผ่านฉลุยไปจนถึงพนักงานอัยการ จนถึงชั้นศาล ปรากฎว่าศาลประทับรับฟ้อง ทำให้ผมซึ่งขณะนั้นก็เคยรับ Job ติดตามรถบ้างเป็นบางครั้ง ถึงกับเลิกกิจการเลย ไม่กล้าเสี่ยง สอบถามได้ความว่า พิจารณาตามข้อเท็จจริงแล้ว มันเข้ากับหลักกฎหมาย วิ่งราวทรัพย์ ทุกประการ ซึ่งหากไม่คำนึงถึงขนาดของทรัพย์ก็ถือว่าครบองค์ประกอบความผิด ผมก็เลยถึงบางอ้อ แต่ทราบภายหลังว่าบริษัทไฟแนนซ์สามารถทำความตกลงกับผู้เช่าซื้อได้ และมีการถอนฟ้องกันภายหลัง เสียดายมาก น่าจะมีฎีกาซักคดี
เคยมีหลายครั้งขณะที่ผู้เช่าซื้อกำลังขับรถยนต์อยู่แล้ว ถูกผู้ติดตามยึดรถขับรถตาม จากนั้นก็ปาดหน้า บล็อกหน้าบล็อกหลังไม่ให้สามารถขับรถยนต์ต่อไปได้ ในนาทีนั้น ส่วนใหญ่ผู้ขับขี่มักจะตกใจและทำอะไรไม่ถูก เพราะรถที่มาดักหน้าดักหลังก็ไม่ได้ติดป้ายว่ามาจากไฟแนนซ์ ผู้ขับขี่นึกว่าโดนปล้น เหตุการณ์อย่างนี้ สมมตินะครับ ผู้ขับขี่เกิดสำคัญผิดว่าถูกปล้น แล้วบังเอิญเป็นผู้สามารถพกพาอาวุธได้ซะด้วย อาจเข้าใจโดยสัญชาติญาณเมื่อจะถูกทำร้ายจึงต้องป้องกัน อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้ ถ้าผู้ขับขี่เกิดยิงป้องกันตัวแล้วทำให้ผู้ติดตามได้รับบาดเจ็บหรือตาย การใช้ข้อกฎหมายในเรื่องสำคัญผิด ต้องสู้กันในรายละเอียดของเหตุการณ์เยอะมาก ขอให้พนักงานติดตามได้ลองทบทวนถึงยุทธวิธีในการเข้ายึดนะครับ ว่ามันได้คุ้มเสียหรือไม่ ส่วนผู้เช่าซื้อขอแนะนำว่า ควบคุมสติก่อนนะครับ และล็อครถให้เรียบร้อย อย่าเปิดกระจก ถ้าจะคุยก็ลดกระจกลงแค่ไม่ให้มือสอดเข้ามาได้ครับ เพราะอาจทำให้พนักงานติดตามจะล้วงมือเข้ามาในรถ ทำให้เราคิดใจผิดคิดว่ามาชิงทรัพย์ ทางที่ดีก็ไม่ลดกระจกลง อาศัยภาษาใบ้คุยกันไปก่อน หรือไม่ก็หยิบมือถือขึ้นมา แจ้ง 191 เมื่อมีตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ ก็จะทำให้เกิดการตรวจสอบและปลอดภัยทั้งสองฝ่าย
แต่ทางออกที่ถูกต้องและดีที่สุดสำหรับทั้งสองฝ่ายนะครับ ผมแนะนำให้แจ้งไฟแนนซ์ให้ฟ้องศาลครับ เพราะระบบการดำเนินการชั้นศาล ปัจจุบันนี้ให้ความเมตตากับผู้เช่าซื้อมากครับ เพราะส่วนใหญ่ผู้เช่าซื้อจะไม่รู้ข้อกฎหมาย ซึ่งหากทางผู้เช่าซื้อประสงค์ที่จะชำระค่าเช่าซื้อ ก็สามารถร้องขอไกล่เกลี่ย ศาลท่านก็จะให้ไกล่เกลี่ยกันก่อนครับ ซึ่งจะมีท่านผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ไกล่เกลี่ยจะสามารถให้ความเป็นธรรมและให้ความกระจ่างในด้านกฎหมาย รวมตลอดถึงวิธีปฏิบัติต่อกันทั้งสองฝ่ายให้ผู้เช่าซื้อเข้าใจได้ อีกทั้งยังให้ความอุ่นใจในการเจรจาครับ เพราะในการไกล่เกลี่ยต้องทำที่ศาล ไม่มีอำนาจมืดใดกล้าเสี่ยงที่จะไม่ทำตามกฎหมายครับ
อ้อ แล้วถ้าหากคดีฟ้องร้องกันอยู่ที่ศาลแล้ว ยังมีผู้มาติดตามอ้างว่าไม่เกี่ยว ฟ้องก็ฟ้องไปจะยึด ละก้อ ขอแนะนำให้พกคำฟ้องไว้ในรถนะครับ เมื่อมีพนักงานมาพูดดังกล่าวก็ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการด่วน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงก็เอาคำฟ้องให้ตำรวจดูครับว่า คดีอยู่ในชั้นศาลแล้ว และก็ถามพนักงานที่มายึดรถดูนะครับว่า จะยืนยันคำพูดเดิมหรือป่าว แล้วถ้าตำรวจดำเนินการกับคนพูดยังไง ก็ช่วยมาบอกกันด้วยนะครับ

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

ทายนิสัยจากอาการเมา

สิ่งที่สามารถบอกถึงนิสัยแท้จริงของคนเราได้นั้นมีอยู่หลายเรื่ อง และหนึ่งในนั้นก็คือ กิริยาท่าทางของคนยามที่เขาตกไปอยู่ในภาวะมึนเมา โดยเฉพาะเมาเหล้า ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่สามารถควบคุมสติตนเองได้ อาการสามารถบ่งบอกถึงนิสัยลึกของเขาได้ มาลองทายกันนะ ว่าตรงรึป่าวนะคะ ใครไม่ดื่มก็เอาไว้ทายคนอื่นก็ได้นะจ้ะ

พูดมาก
สำหรับคนที่เมื่อเมาเหล้านั้น จะกลายเป็นคนที่พูดมากขึ้น พูดเก่งขึ้นกว่าปกตินั้น แสดงถึงนิสัยของการเป็นคนร่าเริง รักความสนุกสนาน มองโลกในแง่ดี ชอบชีวิตที่หรูหรา ฟู่ฟ่า และการอยู่ในวงล้อมของมิตรสหาย แต่ในขณะเดียวกันนั้น ก็จะเป็นคนที่เชื่อมั่นในความสามารถตนเอง เย่อหยิ่ง ดูถูกคน ชอบมองว่าคนอื่นโง่ คิดว่าตัวเองฉลาดเสียเต็มประดา คนจึงเกลียดมากพอๆกับคนที่รักใคร่ชอบพอ

เงียบขรึม หรือไม่มีสติ
คนที่แปรเปลี่ยนกลายเป็นคนที่เงียบขรึม หรือไม่มีสติ หลังจากที่ดื่มน้ำเปลี่ยนนิสัยเข้าไปนั้น เป็นลักษณะนิสัยคนที่ช่างคิดและคิดมากจนเกือบจะเป็นคนหมกมุ่นเล ยทีเดียว แล้วก็จะสนิทกับคนยาก และหากถูกกดดันมาก ๆ จะชอบหนีไปอยู่ในโลกส่วนตัวที่ตนสร้างขึ้นมา และไม่ชอบให้ใครเข้าไปข้องเกี่ยว ลึกๆแล้วเป็นคนขี้เหงา ว้าเหว่ แต่ไม่ชอบแสดงความรู้สึกอ่อนแอของตนออกมาให้คนอื่นเห็น เจ้าชู้เงียบ ๆ ไม่ชอบให้ใครมาผูกมัด

ร้องไห้คร่ำครวญ
พื้นฐานนิสัยจริงๆนั้น เป็นคนอ่อนแอจิตใจอ่อนไหว ขี้ใจน้อย สะเทือนใจง่าย แต่จะไม่ใช่คนที่แสดงออก จึงมีกเก็บทุกสิ่งเอาไว้เงียบๆคนเดียว น้อยคนนักที่จะรู้จักจริงๆ ลึกๆแล้วเป็นคนที่ต้องการให้คนอื่นสนใจตนเองต้องการให้คนมารักใ คร่ห่วงใย บางครั้งจึงเหมือนคนเจ้าชู้ คบหาคนไปเรื่อยๆเล่นๆไปวันๆ แต่จริงๆแล้วแสวงหารักแท้

ทะลึ่งทะเล้น
คนที่เมื่อดื่มเหล้าเข้าไปแล้ว จะมีอาการทะลึ่งทะเล้นจนเห็นได้ชัดนั้น แสดงถึงนิสัยที่เปิดเผย รักสนุกโดยเฉพาะในเรื่องรักๆใคร่ๆ จะให้ความสนใจเป็นพิเศษละมีพลังทางด้านนี้สูง ไม่มีความเขินอายเกี่ยวกับเรื่องเซ็กส์ แล้วก็ยังสนใจศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็จะเป็นคนที่รักอิสระ ไม่ชอบให้ใครมาผูกมัดหรือครอบครองตนเพราะเป็นคนจะเบื่อง่ายและไ ม่ชอบการที่จะต้องอยู่ในระเบียบหรือกฏเกณฑ์ของใคร

หน้าแดง
คนที่เวลาเมาเหล้าแล้วมักหน้าแดงนี้ เป็นคนที่เก็บความรู้สึกไม่เป็น หรือไม่อาจเก็บรักษาความลับอะไรได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่คนที่เปิดเผยอีกเหมือนกัน แต่ก็จะเฉพาะกับเรื่องราวของตัวเองเท่านั้น เป็นคนที่มักมีปัญหาเรื่องสุขภาพ จึงค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลตนเองมาก มักจะมีความวิตกกังวลสูงกับเรื่องความเจ็บป่วย ชอบแสวงหาความมั่นคงในทุกรูปแบบให้กับชีวิตของตน

โวยวายหาเรื่อง
คนที่ชอบโวยวายหาเรื่องคนอื่นเมื่อเหล้าเข้าปากนั้น แสดงถึงนิสัยที่เป็นคนอารมณ์รุนแรง เปลี่ยนแปลงง่าย ประเดี๋ยวดี แต่อีกเดี๋ยวเดียวก็โมโหโกรธาเสียแล้ว จะเป็นคนโกรธง่ายหายเร็วเหมือนกัน ใจคอว้างขวาง ชอบมีเพื่อนฝูงเยอะๆ เป็นคนเถรตรง พูดจาไม่ค่อยถูกหูคนนัก คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ไม่ชอบงานที่มีพิธีการมากมาย

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์นโยบายเงินกู้นอกระบบมาเข้าในระบบ

นโยบายช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เห็นจะไม่มีอะไรปลุกกระแสพ่อค้าแม่ขายได้ดีเท่ากับเรื่องหนี้นอกระบบ โดยรัฐบาลมีวัตถุประสงค์จะนำหนี้นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบ ผลดีน่าจะตกอยู่กับบรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่หากินไปวันๆ แบบรับเงินสดกระเป๋าซ้าย จ่ายดอกเบี้ยกระเป๋าขวา
จริงๆแล้วนโยบายตัวนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ หากแต่เป็นโครงการที่รัฐบาลทักษิณก็เคยทำมาแล้วน่าจะใช้ชื่อโครงการว่า แปลงทรัพย์สินเป็นทุน ก็มุ่งกลุ่มแม่ค้ารายวัน ผมพอจะจำโฆษณาได้ว่า ใช้แม่ค้าส้มตำเป็นตัวเดินเรื่อง แล้วพอมีคนมาทวงดอกเบี้ยเงินกู้ ก็อัดยาดมเข้าสองรูจมูก เพิ่มครกมาเป็นสิบครก ตำทีเดียวพร้อมกัน พอนึกภาพกันออกไหมครับ
ส่วนเครื่องมือที่รัฐบาลทั้งสองใช้เป็นหลัก ก็คือ ธนาคารออมสิน นั่นล่ะครับ เพราะเงินเยอะ ไม่ค่อยได้ปล่อยกู้เท่าไหร่ เนื่องจากเป็นธนาคารในมือรัฐ จึงไม่ค่อยมีเซลมาวิ่งแข่งกันทำยอดเงินกู้ จะเน้นที่ให้ประชาชนนำเงินมาออมซะมากกว่า แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือ อาวุธหลักนักเสี่ยงโชค สลากออมสินครับ พอให้ได้ลุ้นกันทุกวันที่ 20 แต่เป็นที่น่าสังเกตก็คือ ทำไมไปออกรางวัลกันเองก็ไม่ทราบได้ ขนาดบางคนซื้อเลขติดกันใช้เงินเป็นล้าน เลขมันยังออกเลี่ยงหลบไปได้อย่างน่าใจหาย ก็พอได้ลุ้นน่ะครับ โชคไม่ดีเองแหละ ถ้าซื้อซักร้อยห้าสิบล้านก็มีโอกาสถูกมากกว่ารางวัลเลขท้ายสี่ตัว อิอิอิ
มาถึงนโยบายเงินกู้นอกระบบกันต่อ ผมตั้งข้อสังเกตที่มาของการเป็นหนี้ก่อนนะครับ เนื่องจากผมนั้นคือหนึ่งในผู้ที่เคยได้ลิ้มรส ทั้งเป็นฝ่ายกู้และฝ่ายให้กู้ ผมก็ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลมาร์คเจ้าของนโยบายได้ศึกษามาก่อนหรือไม่ว่า ทำไมพ่อค้าแม่ค้ารู้อยู่แล้วว่าดอกเบี้ยแสนจะแพง แต่ดันไปกู้ ทั้งๆที่ถ้าทำการค้าก็จะมีธนาคารพาณิชย์มากมายพร้อมจะให้กู้ หรือถ้าจะให้ง่ายกว่าระบบธนาคารพาณิชย์ ก็คือ NonBank ถ้านึกไม่ออกว่าคืออะไร ก็จะยกตัวอย่างให้นะครับได้ เฟิร์สช้อย (ค่ายจีอี) แคปิตอลโอเค (เมื่อก่อนค่ายชินฯแต่เด๊วนี้โดนเทคโอเว่อร์) อีออน (ญี่ปุ่น) แล้วก็พวกอีติ๋ม อีแป๋ว นั่นแหละมากู้ พวกดำเนินธุรกิจปล่อยเงินกู้บุคคลธรรมดา ไม่เกี่ยงว่าจะเอาไปใช้อะไร ถ้าหลุดจากเครื่องมือนี้ ก็ยังมีโรงรับจำนำ แต่อันนี้ต้องมีหลักทรัพย์หน่อยนะครับ แต่ก็รับทุกอย่างจริงๆครับ ไม่ว่าจะเป็นสากะบือ ยันเรือรบ (สำหรับสากะบือ นี่ ถ้าสากไม้ จะได้ราคาน้อยกว่าสากหิน ครับ) นอกจากนี้ยังมีอีกสารพัดแหล่ง อันได้แก่ ร้านเพชร ร้านทอง ก็ยังรับจำนำ โดยเลี่ยงเป็นใบฝาก ร้านมอไซค์ จำนำเล่ม หรือจะแบบในเชิงระดมทุนในระดับชุมชน ก็ตั้งวงแชร์ หวยทอง โอ๊ย!! เยอะแยะไปหมด แล้วมากู้ไอ้พวกโหดนี่ทำไม คำตอบน่ะเหรอครับ ก็ไอ้คำว่า เครดิตบูโร ตัวเดียวนี่แหระครับ
เครดิตบูโร เป็นประวัติการก่อหนี้และประวัติการชำระเงินของเราที่ไปทำไว้กับสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกกับสถาบันเครดิตบูโร หากเราไปก่อหนี้อะไรไว้ ก็จะมีการส่งประวัติไป แล้วมันก็เหมือนประวัติบาปเมื่อเราผ่อนช้า ทำให้การก่อหนี้ครั้งใหม่มีปัญหาถึงขั้นอาจกู้ไม่ผ่าน พอกู้ไม่ผ่าน ก็ต้องไล่สเตปมาที่ละสถาบันเลยครับ พอธนาคารปฏิเสธ ลองไป Nonbank ก็จะเจอปัญหาเดียวกันคือ เครดิตบูโร ทีนี้ก็ต้องสำรวจร่างกายดูว่าพอจะมีเฟอร์นิเจอร์อะไรเหลืออยู่บ้าง ถ้าพอมีเป็นทองหยองก็พอเอาไปจำนำได้ อ้อ! ความรู้ใหม่สำหรับผมก็คือ โน้ตบุ๊กก็จำนำได้ครับ แต่ต้องเป็นรุ่นใหม่เท่านั้น รุ่นเก่ามีปฏิเสธไม่รับอีกต่างหาก เคยถามว่าทำไมไม่รับ เค้าตอบง่ายมากคือ มันไม่มีโบร์ชัวร์แสดงราคาซื้อ และก็ไม่สามารถประเมินราคาได้ และแล้วเมื่อสถาบันการเงินทุกที่ตั้งแต่ง่ายไปหายากไม่สามารถจะกู้ได้ สุดท้ายเมื่อจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆก็ต้องพึ่งเงินกู้นอกระบบที่ว่านี่แหระครับ โดยมากจะมีพนักงานใส่หมวกกันน็อคมาทำหน้าที่ตั้งแต่เซลล์คนหาลูกค้า ทำสัญญา จนถึงฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน และฝ่ายตามตื้บสำหรับหนี้เสีย
ทีนี้มาดูชีวิตลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย คือ พวกแม่ค้านะครับ ว่าโอกาสในการก่อหนี้ในระบบสามารถทำได้หรือไม่ เริ่มจาก สมมติตัวละครคือ ป้าสมขายกล้วยแขก ในตลาดสด อยากไปกู้เงินจากธนาคาร สิ่งที่ธนาคารจะขอก็คือ Statement ครับ นั่นหมายถึงบัญชีกระแสรายวัน ว่ามีเงินเข้าเงินออกยอดประมาณเท่าไหร่ต่อเดือน น่าคิดนะครับ ว่า ถ้าป้าสมแกมีบัญชีกระแสรายวันจริงๆ มันจะตลกมั๊ย เพราะวันๆขายส้มตำ จะเปิดบัญชีเช็คไปหาสวรรค์วิมานอะไรให้เปลืองค่าเบิกถอน เพราะเช็คใบนึงก็ปาเข้าไป 15 บาทแล้ว แพงกว่าส้มตำจานเล็กอีก ทีนี้ถ้าไม่มีบัญชีกระแสรายวันก็ต้องขอดูสมุดเงินฝาก ว่ามีเงินฝากเข้าถอนออกเยอะมั๊ย คำถามที่ตามมาก็คือ สมุดออมทรัพย์แล้วไม่มีเงินออมเลยหรือ (ถามแปลก มีแล้วจะมากู้ทำไม ก็ใช้เงินออมมาลงทุนไม่ดีกว่ารึ) ท่านผู้อ่านลองเข้าไปนั่งที่ร้านขายส้มตำซักวันนึงดูนะครับ เอาแบบนั่งทั้งวันนะ จะเห็นได้เลยว่า แม่ค้าส้มตำไม่มีเวลาไปแบงค์หรอกครับ ครั้นพอปิดร้านแล้ว แบงค์ก็ปิดเหมือนกัน ซึ่งสมัยก่อนตอนผมอยู่ต่างจังหวัด จะมีธนาคารบางธนาคาร หนึ่งในนั้นเป็นธนาคารออมสินแน่นอน ที่จะส่งพนักงานมารับเงินฝากถึงที่ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นครับ ชีวิตแม่ค้าส้มตำก็เลยไม่ค่อยได้เดินบัญชีเงินฝากเข้าฝากออกเท่าไหร่หรอกครับ (ซึ่งประเด็นนี้ผมว่ารัฐบาลทักษิณ น่าจะทราบปัญหาได้ดีกว่า จึงได้มีโครงการแปลงสินทรัพย์ อันได้แก่ แผงขายส้มตำ หรือรถเข็นมาเป็นตัวค้ำประกันเงินกู้ ไม่ต้องมาดูที่บัญชีเงินฝาก ) ขั้นต่อมาก็ต้องขอดูเครดิตบูโร ว่าเคยไปกู้ใครมาบ้างรึป่าว ซึ่งในปัจจุบันก็มีการคิดคะแนนประเมินความสามารถลูกค้าที่ผมเองก็ไม่เข้าใจครับ คือ ลูกค้าที่ไม่เคยไปกู้ที่ไหนมาก่อน พูดง่ายๆคือประวัติเครดิตบูโร ใสสะอาด คำตอบคือ คะแนนการกู้เป็นศูนย์ ไม่สามารถให้กู้ได้ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นแบงค์เอกชน จากนั้นทางแบงค์ก็ต้องขอดูเอกสารทางทะเบียนธุรกิจการค้า ซึ่งไม่มีแม่ค้าส้มตำที่ไหนไปจดหรอก พอจะทราบเงื่อนไขการกู้ธนาคารบ้างหรือยังครับ ว่า แม่ค้าส้มตำนี่แทบไม่มีโอกาสในการเข้าถึงเลย
เมื่อหาข้อพิสูจน์ทางทะเบียนยาก ก็ต้องเป็นหน้าที่ของพนักงานฝ่ายสินเชื่อของธนาคารครับ เป็นคนออกสำรวจ และแน่นอนครับ แม่ค้าส้มตำถือว่าเป็นรายย่อย ไม่คุ้มค่าเดินทางหรอกครับ ส่วนใหญ่ก็รอไปก่อนว่างแล้วจะไปดู เมื่อถามถึงระยะเวลาก็ยังไม่สามารถตอบได้ และทั้งหมดนี้ก็คือภาพกว้างๆแบบไม่เจาะลึกนะ ในการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบของแม่ค้าส้มตำ
ทีนี้มาดูในมุมของเงินกู้นอกระบบครับ มีเงื่อนไขเดียว ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มีบัตรประชาชนใบเดียว ก็ใช้ได้ ไม่ต้องเช็คเครดิตบูโร ไม่มีต้องมีคนค้ำ บริการถึงที่ มาเก็บทุกวัน ไม่ต้องเดือดร้อนเอาเงินไปเข้าที่แบงค์ เซ็นต์เอกสารการเป็นหนี้ปั๊บรับเงินวันรุ่งขึ้น เห็นมั๊ยครับ ขนาดเขียนบรรยายเงื่อนไขการกู้ ยังใช้จำนวนบรรทัดที่บรรยายผิดกันเยอะเลย แล้วจะไม่ให้ชาวบ้านเค้าไปใช้บริการได้ยังงัยละค๊าบบบบ
ทีนี้มาถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลเรื่องเอาหนี้นอกระบบมาใส่ในระบบ อันดับแรก ต้องไปลงทะเบียนก่อน ต่อมาก็ต้องมีเอกสารยืนยันการกู้ว่าเจ้าหนี้เป็นใคร แล้วที่สำคัญ ก่อนจะมีการประกาศว่าจะให้ลงทะเบียน ก็มีข่าวตำรวจไปกวาดล้างพวกเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ ออกมาแบบถี่ยิบ แล้วทีนี้ใครเค้าจะทำหลักฐานกันล่ะค๊าบคุณรัฐบาล ถึงทำก็ทำฝ่ายเดียว ไม่มีเอกสารในมือลูกหนี้หรอกค๊าบ แล้วยิ่งท่านออกข่าวกวาดล้างเนี่ย เจ้าหนี้ก็ยิ่งรีบเช็คบิลลูกหนี้ แหล่งเงินกู้มีเจ้าหนี้ตั้งหลายพันราย ท่านจับได้ไปแค่รายสองราย ที่เหลือเค้าเคลียร์บิลลูกหนี้เดือดร้อนกันหนักไปใหญ่ แล้วกว่ารัฐบาลจะดำเนินการให้เงินกู้ในระบบมาแทนหนี้นอกระบบได้ ก็ต้องนัดเจ้าหนี้มาเจรจาเพื่อปิดหนี้ แล้วเจ้าหนี้เค้าจะมามั๊ยล่ะครับ ดูเหมือนทุกขั้นตอนมันจะติดขัดไปซะหมด มันแสดงออกถึงว่า ก่อนกำหนดนโยบายได้มีการศึกษาข้อมูลเชิงลึกจริงๆกันหรือป่าว เพราะถ้าศึกษาจริงๆ คำตอบมันน่าจะออกมาในรูปที่ว่า เอาเข้าระบบแบบนี้ไม่ได้หรอก ต้องใช้วิธีอื่น เช่น ให้แปลงสินทรัพย์เป็นทุนเพื่อล้างหนี้เก่านอกระบบ แต่ไม่ได้จ่ายเงินให้กับแม่ค้า ให้ไปส่งมอบกันที่สำนักงานเขตจะดีกว่า จะได้เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยด้วย แล้วเชื่อเถอะครับว่าเป็นไปไม่ได้ที่เรื่องแบบนี้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะไม่รู้ข้อมูลเชิงลึก นี่ก็เป็นแค่น้ำจิ้มในเรื่องนโยบายเงินกู้นอกระบบนะครับ ตอนนี้ที่ได้ข่าวแว่วๆกันมา ก็อีหร็อบเดิมครับ อยากกู้ในระบบโดยอาศัยนโยบาย ก็เลยผลัดกันเป็นเจ้าหนี้ เพื่อจะได้ไปกู้แบงค์ในระบบได้ ยังงัยเสียรัฐบาลก็น่าจะหาทางกันได้น่ะครับ เชื่อมือ เพราะไม่รู้จะไปเชื่อใครแล้วเนี่ย